วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

เทพเจ้าไดอะไนเซิล (Dionysus)

เทพเจ้าไดอะไนเซิล (Dionysus)
 
ไดอะไนเซิส ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก ไดอะไนเซิสเป็นเทพเจ้าแห่งไวน์  ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ
เทพไดโอไนซูส เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส
ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณและความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว


เทพีอะโพร์ไดท์ (Aphrodite)

เทพีอะโพร์ไดท์ (Aphrodite)

   
เทพีอะโพรไดท์หรือเทพีวีนัส เป็นเทพีแห่งเทพปกรณัมโรมันที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรักและความงาม หรืออีกชื่อคือ อโพรไดท์ (Aphrodite) แห่งเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นชายาของเทพวัลคัน (Vulcan) หรือเฮฟเฟสตุสเทพแห่งงานช่าง เทพีวีนัสตามตำราว่าเกิดขึ้นเองจากฟองทะเล ด้วยพระนามของพระนาง อะโฟรไดท์ นั้น มาจากคำว่า ‘Aphros’ที่แปลว่าฟอง มีตำนานว่าพระนางเกิดในทะเลใกล้เกาะไซเธอรา และถูกคลื่นซัดไปยังเกาะไซปรัส แต่บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพซุสที่เกิดจากจากนางอัปสรไดโอนี แต่ที่ตรงกันคือพระนางมีความงดงามที่ไม่มีใครเทียมได้แม้กระทั่งเทพธิดาด้วยกัน และสามารถสะกดใจผู้ชายทุกคนได้ภายในพริบตาแรกที่มองเห็นพระนาง อีกทั้งพระนางก็ชอบใจในความสวยงามของตนเองมากเสียด้วย พระนางจึงไม่ยอมเด็ดขาดหากใครจะกล้าล้ำเส้นเทพีความงามของพระนาง ด้วยแรงริษยาที่รุนแรงพอๆกับรูปโฉมสะสวยทำให้เทพีวีนัสเป็นที่หวาดหวั่นของเทพหลายๆองค์
ในวันแรกที่เทพีวีนัสปรากฏตัวบนเขาโอลิมปัส เทพชายทุกองค์โดยเฉพาะเทพซุสเองก็อยากได้พระนางมาครอบครอง แต่เทพีวีนัสไม่ใช่หญิงสาวเรียบร้อยหัวอ่อนว่าง่าย ทำให้เทพซุสเกิดความโมโหและแก้เผ็ดพระนาง โดยจับพระนางแต่งงานกับเทพวัลแคนพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเทพวัลแคนชอบขลุกอยู่ในโรงงาน ก่อสร้าง และประดิษฐ์สิ่งต่างๆเนื้อตัวมอมแมม แถมยังเป็นเทพขาพิการ ทำให้เทพีวีนัสโกรธเคืองอย่างมาก แต่พระนางก็กล้าทำในสิ่งที่เทพีอื่นๆ ไม่กล้า นั่นคือการคบชู้สู่ชายแบบตามใจชอบดังเช่น
 เทพอาเรส เทพแห่งสงคราม โอรสอีกองค์ของเทพซุสและเป็นน้องชายร่วมท้องของเทพวัลแคน ด้วยความที่มีรูปร่างหน้าตางดงามหล่อเหลา ทำให้ทั้งสองเทพเทพีเกิดรักใคร่กันในใจเงียบๆแต่แรกเจอ แต่เมื่อเทพีวีนัสถูกจับคลุมถุงชน ทั้งสองจึงยอมอยู่กินกันแบบชู้รักอย่างมีความสุข กระทั่งมีพยานรักด้วยกันถึง 4 องค์ คือ
- คิวปิด กามเทพ เทพเจ้าแห่งความรัก มีชายาเป็นคู่แค้นเก่าของมารดานามว่า เทพีไซคี และมีธิดาหนึ่งองค์กับพระชายา นามว่า เดลิซิโอ
- แอนตีรอส โอรสองค์รอง เป็นเทพเจ้าแห่งการรักตอบ
- ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี ธิดาองค์ที่สาม ซึ่งเทพอาเรสยกให้แต่งงานกับแคดมัส ผู้ก่อตั้งเมืองธีบส์ โดยเทพอาเรสไม่รู้เลยว่า พระองค์ได้สาปแช่งแคดมัสไว้ ธิดาองค์นี้ในที่สุดก็กลายร่างเป็นงูตามสวามี และลูกหลานสืบต่อมาจึงประสบกับชะตาอันน่าเศร้า อย่างที่รู้จักกันดีคือ โอดิปุส ผู้ซึ่งฆ่าพ่อของตนและได้แม่เป็นภรรยา
- อัลซิปเป ธิดาองค์สุดท้อง มีรูปโฉมงดงามจนถูกโอรสเทพโพไซดอนลักพาตัวไป ท้ายสุดเทพอาเรสตามชิงธิดากลับมาได้ และฆ่าโอรสเทพโพไซดอนตาย เทพโพไซดอนโกรธเคืองมากถึงขนาดต้องขึ้นศาลกับเทพอาเรส แต่ท้ายที่สุดเทพอาเรสชนะความ
เทพเฮอร์มีส ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดากับเทพอาเรสและเทพวัลแคน เป็นเทพแห่งการติอต่อสื่อสาร การโกหก และการขโมย ทั้งสองมีโอรสชายด้วยกันหนึ่งองค์คือ เฮอร์มาโฟไดทัส แต่ภายหลังก็กลายเป็นเทพสองเพศ เพราะมีนางอัปสรชื่อ ซาลมากิส มาหลงรักเฮอร์มาโฟไดทัส ทว่าเขาไม่ไยดีต่อนางเลย นางจึงวิงวอนแก่เทพเจ้าให้นางได้ติดตามเขาไปทุกที่ ท้ายสุด นางซาลมากิสก็ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเฮอร์มาโฟไดทัสตามแรงอธิษฐาน ทำให้เฮอร์มาโฟไดทัสมีสองเพศนับแต่นั้นมา
 อาโดนิส ชายรูปงามซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดอกกุหลาบ เล่ามาว่า ครั้งหนึ่งในป่าใหญ่ ขณะเทพีวีนัสกำลังประพาสป่า เกิดพบต้นไม้ใหญ่งดงามต้นหนึ่งหักโค่นลง และภายในมีเด็กชายหน้าตาน่ารักอยู่ พระนางจึงรับเด็กชายไว้และตั้งชื่อเขาว่า อาโดนิส พระนางฝากเทพีเพอร์เซโฟนี่มเหสีแห่งเทพฮาเดสดูแล จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านมา เทพีวีนัสบังเอิญถูกศรรักของโอรสสะกิดจนเป็นแผลเล็ก และเวลาประจวบเหมาะกับที่อาโดนิสเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วมาปรากฏตรงหน้าพระนาง ทำให้เทพีวีนัสหลงรักอาโดนิสปักใจ และขออาโดนิสคืนจากเทพีเพอร์เซโฟนี่ แต่องค์เทพีไม่ยินยอมด้วยความผูกพันที่มีต่อชายหนุ่ม ทั้งสองเทพีจึงเกิดเบาะแว้งกันใหญ่โต เทพซุสจึงตัดสินให้อาโดนิสสามารถอยู่กับเทพีวีนัสสี่เดือนบนโลกมนุษย์ อยู่อีกสี่เดือนในยมโลกกับเทพีเพอร์เซโฟนี่ และอีกสี่เดือนอาโดนิสจะอยู่ที่ไหนก็ได้ตามใจ (บางตำราก็ว่า แบ่งระหว่างสองเทพีองค์ละ 6 เดือน) แต่เทพอาเรสหึงหวงชายา(ลับ)ของตนมาก จึงแปลงเป็นหมูป่าที่อาโดนิสชอบล่าลวงเขาเข้าป่าไปและฆ่าทิ้ง เทพีวีนัสเสียใจมากที่พบแต่ศพของชายคนรัก พระนางจึงเนรมิตดอกไม้งามขึ้นมาจากเลือดของอาโดนิส ซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แห่งความรัก ดอกกุหลาบนั่นเอง
แอนไคซีส แอนไคซีสเป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นบุตรเขยของท้าวอิลัสปู่ของท้าวเพรียมฝ่ายทรอย ทั้งๆที่เขามีชายาอยู่แล้ว แต่เทพีวีนัสก็หลงใหลในตัวของแอนไคซีสมาก พระนางแปลงตัวมาเป็นนางอัปสรประจำเขาไอดา และหาโอกาสใกล้ชิดกับแอนไคซีส จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ อีเนียส วีรบุรุษ ฝ่ายทรอยในสงครามทรอย ผู้ก่อตั้งอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ เป็นต้น

เทพีอธีนา (Athena)

เทพีอธีนา (Athena)

      เทพีแห่งปัญญา การสงคราม ความฉลาดอย่างเทพ สถาปัตยกรรมและงานฝีมือ เทพีผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์
วิมาน
สัญลักษณ์
บิดามารดา
มีทิสและซูส
ญาติ
เทียบเท่าในโรมัน












เทพีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุสประมุขแห่งเหล่าเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อเทพซุสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซุสโดยตรง
นอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีส ที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และ เฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน
ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่ง มหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า อธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอนซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป ในวัฒนธรรมสมัยนิยมก็ถูกอ้างถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นต้น เช่น เรื่อง เซนต์เซย่า เมื่ออธีนาได้จุติลงมาเป็นเด็กผู้หญิงที่ชื่อ คิโค ซาโอริ ทำหน้าปกป้องโลกจากเทพองค์อื่น ๆ ที่มีความปรารถนาจะครองโลก ซึ่งเป็นตัวเอกฝ่ายหญิงของการ์ตูนเรื่องนี้ทีเดียว



เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes)

เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes)

           เฮอร์มีส  เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมัน ว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่ เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสาร 
พระองค์เป็นบุตรของเทพซุสเกิดแต่นางเมยา (Maia) มีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเทพบิดา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสาร และมีคาถาคาดูเซียส (Caduceus) ซึ่งรูปร่างของคถาจะมีคถางูไขว้อยู่สองตัว เฮอร์มีสพบงูสองตัวนี้เมื่อเห็นมันสู้กันเลยเอาคถาทิ่มระหว่างงูสองตัวเพื่อห้ามไม่ให้เกิดความวิวาท งูเลยเลื้อยมาพันอยู่รอบไม้แล้วหันหัวเข้าหากันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย


บุตรของเทพเฮอร์มีสได้แก่ เทพแพน เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส และเทพออโตไลคัส
                                                                                เทพเจ้ากรีก (ภาค 3 วีนัส และ เทพอื่นๆ) เฮอร์มาโฟรไดเต้ Hermaphrodite


เทพเจ้าอาร์เทมีส (Artemis)

เทพเจ้าอาร์เทมีส (Artemis)

อาร์เทอมีส  หรือในภาคโรมันคือ ไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ เป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี

เทพฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุส เกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไปถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วยกลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุขและเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์ได้ กระทั่งครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย
ทันทีที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ
ตำนานความรักของเทพีอาร์เทอมีสนั้นมีอยู่สองตำนาน ตำนานแรกคือตำนานของกรีกซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มดาวนายพรานซึ่งสุกสว่างอยู่บนท้องฟ้าในยามกลางคืน ส่วนอีกตำนานหนึ่งคือตำนานของโรมันซึ่งกล่าวถึงเอนดิเมียน ชายหนุ่มเลี้ยงแกะรูปงาม ในตำนานของกรีกนั้นกล่าวว่าเทพีอาร์เทอมีสทรงสาบานตนเป็นเทพีพรหมจารีย์ร่วมกับอะธีน่าและเฮสเทียต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ นางชิงชังชีวิตสมรส ความรัก และการยุ่งเกี่ยวกับผู้ชาย แต่สิ่งหนึ่งที่เทพีอาร์เทอมีสไม่ปฏิเสธคือการมีสหายเป็นชายที่รักการล่าสัตว์เช่นเดียวกับพระนาง
สหายสนิทของเทพีอาร์เทอมีสมีนามว่าโอไรออน เขาเป็นนายพรานผู้ฉมังในการล่าสัตว์ มีสุนัขคู่ใจชื่อว่าซิริอุส ทุกๆ วันเทพีอาร์เทอมีสและสหายจะร่วมกันล่าสัตว์และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานหลังจากล่าสัตว์เสร็จ เทพีอาร์เทอมีสหลงรักนายพรานหนุ่มและคิดที่จะสละความเป็นเทพีพรหมจารีย์เพื่อแต่งงานกับโอไรออน อพอลโล่รู้ถึงความคิดนี้เข้าและกลัวว่าอาร์เทอมีสจะต้องรับโทษจากการผิดคำสาบานต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ จึงวางแผนที่จะล้มเลิกความคิดของน้องสาวฝาแฝด อพอลโล่สั่งให้โอไรออนเดินลุยน้ำทะเลไปยังเกาะแห่งหนึ่งกลางทะเล และเมื่อโอไรออนเดินไปถึงยังจุดที่ไกลจนเมื่อมองจากเกาะดีลอสแล้วจะเห็นเพียงศีรษะของโอไรออนที่มองดูเหมือนกับเกาะกลางน้ำ เทพอพอลโล่ก็ชวนเทพีฝาแฝดมาล่าสัตว์แข่งกัน และท้าพนันให้อาร์เทอมีสยิงธนูทะลุเกาะกลางทะเลที่อพอลโล่ชี้ให้ดูให้ได้
อาร์เทอมีสตกหลุมพรางของเทพฝาแฝด เหนี่ยวสายธนูเต็มแรงจนลูกธนูทะลุศีรษะของโอไรออนถึงแก่ความตาย เมื่ออาร์เทอมีสทราบว่าตนได้ฆ่าชายที่รักลงด้วยน้ำมือของตนเองแล้ว พระนางก็ได้นำศพของโอไรออนและซิริอุสสุนัขคู่ใจขึ้นไปไว้บนท้องฟ้าในตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพราน และ ดาวสุนัขใหญ่
เทพีอาร์เทอมีสมีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผู้งดงาม อยู่ในชุดล่าสัตว์ทะมัดทแมงกระโปงสั้น ชุดมักมีสีน้ำเงิน ในมือถือคันธนู


เทพเจ้าอพอลโล (Apollo)

เทพเจ้าอพอลโล (Apollo)

อพอลโล  เป็นบุตรชายคนโตของมหาเทพซุส เป็นหนึ่งใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส  เป็นบุตรของซีอุส จอมเทพแห่งสวรรค์และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงอาทิตย์คู่กัน อพอลโล เป็นบุรุษหนุ่มรูปงาม มักเล่นดนตรีด้วยพิณ เชี่ยวชาญการใช้ธนู ในสงครามกรุงทรอย อพอลโลมีบทบาทเป็นเทพที่รักษาชายฝั่งเมืองทรอย ที่เมืองเดลฟี่มีเทวสถานบูชาอพอลโลอยู่ นอกจากนี้แล้ว อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ฟีบัส (Phoebus) อาเบล (Abel) ไพธูส (Pytheus) หรือ เฮลิออส (Helios) ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายถึง แสงสว่างทั้งสิ้น
ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซา ที่เรียกว่า โครงการอพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่างๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อพอลโลเป็นเทพที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียนที่เกาะโรดส์ที่มีชื่อว่า เทวรูปโคโลสซูส  นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณ ด้วยโดยทั่วไปรูปปั้นอพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์

ฮีเฟสตุส (Hephaestus)และเทพเจ้าแอรีส (Ares)

ฮีเฟสตุส (Hephaestus)

ฮีเฟสตุส (Hephaestus) หรือวัลแคน เทพแห่งการช่าง เทพองค์นี้ ส่วนมากว่า เป็นโอรสที่ฮีรา ให้กำเนิดฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวกับซุส หรือชายใด
บางตำนานกล่าวว่าฮีราอิจฉาที่ซูสสามารถให้กำเนิดบุตรด้วยตนเองได้นั่นคืออะธีน่า นางจึงสร้างฮีเฟสตุสขึ้นมาด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากซูส แต่เมื่อฮีเฟสตุสถือกำเนิดขึ้นนางก็โยนบุตรชายลงจากเขาโอลิมปัสเนื่องจากรังเกียจรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดของฮีเฟสตุส ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ฮีเฟสตุสกลายเป็นเทพที่มีขาพิการ ภายหลังฮีเฟสตุสได้ทำการแก้แค้นพระมารดาด้วยการสร้างบัลลังก์ทองที่แสนสวยงามให้ฮีรา แต่เมื่อนางนั่งลงบนบัลลังก์ทองนั้นแล้วกลับลุกขึ้นมาไม่ได้อีกเลย
เทพโอลิมปัสร่วมกันอ้อนวอนให้ฮีเฟสตุสกลับขึ้นมาอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัสและให้อภัยพระมารดา แต่ฮีเฟสตุสไม่ยอม ในที่สุดเหล่าเทพจึงส่งเทพไดโอไนซัสผู้เป็นเทพแห่งเหล้าองุ่นให้มอมเหล้าฮีเฟสตุสและนำเขาขึ้นมายังเทือกเขาโอลิมปัส ทำให้คำสาปเรื่องบัลลังก์ทองเสื่อมไป เทพีฮีราจึงได้ลุกขึ้นจากบัลลังก์อีกครั้ง

เทพเจ้าแอรีส (Ares)

แอรีส  หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย

แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่าจึงได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า
แอรีสเป็นบุตรของซุส มหาเทพและพระนางเฮรา แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของรอมิวลุส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพี อโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่
เมื่อเสด็จไปที่ใด แอรีสจะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟมอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บางตำนานก็กล่าวว่า ทั้งดีมอสและโฟบอสเป็นบุตรชายฝาแฝดของแอรีส และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำว่าความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) และในทางดาราศาสตร์ แอรีสหรือมาร์ส คือ ดาวอังคาร ดีมอส  และโฟบอส ก็ถูกตั้งเป็นชื่อของดวงจันทร์บริวารของดางอังคารด้วย

ดิมิเทอร์ เทพีแห่งความสมบูรณ์

ดิมิเทอร์ (Demeter)

 ดิมีเทอร์ เป็นธิดาองค์ที่2 ของโครเนิส และรีอา นางเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และการเก็บเกี่ยว นางมักจะปรากฏตัวพร้อมกับดอกไม้ ผลไม้ และเมล็ดธัญญาหาร ต่อมาได้เป็นชายาของเทพซุส และมีธิดา คือ เพอร์เซโฟเน เทพธิดาแห่งฤดูใบไม้ผลิ เมื่อเพอร์เซโฟเนถูกฮาเดส จับตัวไปนางโศกเศร้ามากพืชผลไม่ผลิดอกงอกงาม นั่นก็คือต้นกำเนิดของฤดูหนาว เชื่อกันว่านางได้สอนให้ชาวกรีกโบราณรู้จักศิลปะของการปลูกพืชผล เพื่อพวกเขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเพาะปลูกและมีอารยธรรมขึ้นมา

                             ดีมิเตอร์(Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และเกษตรกรรม   

       ดีมิเตอร์ เป็น 1 ใน 3 น้องสาวที่เป็นมเหสีของซูส เทพีดีมิเตอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า พรอสเซอไพน์(Proserpine) หรือ เพอร์ซิโฟเน่ เป็นเทพีครองฤดูผลิตผลของพีชทั้งปวง ซึ่งถูกเทพฮาเดสลักพาตัวไปเป็นคู่ครองในยมโลก ดังมีเรื่องพิสดารดังนี้
       หลังจากที่ฮาเดสหลอกล่อจนสามารถจับตัวเพอร์ซิโฟเน่ได้แล้วเทพฮาเดสก็เร่ง ขับรถไปจนถึงแม่น้ำไซเอนี(Cyane) ซึ่งขวางหน้าอยู่เห็นในแม่น้ำเกิดปั่นป่วน แผ่ขยายท่วมท้นตลิ่งสกัดกั้นตัวเทพเอาไว้ จึงชักรถไปทางอื่นแล้วใช้ง่าม 2 แฉก อาวุธประจำกายแทงลงบนแผ่นดินเพื่อให้แยกออกเป็นช่อง แล้วขับรถลงไปยังบาดาล ในขณะเดียวกันนั้นเพอร์ซิโฟเน่แก้สายรัดองค์ขว้างลงในแม่น้ำไซเอนี พลางร้องบอกนางอัปสรประจำแม่น้ำให้เอาไปถวายเจ้าแม่ดีมิเตอร์ผู้เป็นมารดา ด้วย
       ฝ่ายดีมิเตอร์แม่โพสพกลับมาจากทุ่งข้าวโพดไม่เห็นธิดา เที่ยวเพรียกหาก็ไม่เห็นวี่แววอันใด นอกเพียงจากดอกไม้ที่ตกเรี่ยราดกลาดเกลื่อนอยู่ เจ้าแม่เที่ยวหาไปตามที่ต่างๆ พลางกู่เรียกไปตลอดวันและคืน
      กระนั้นเจ้าแม่ก็ไม่ลดละความพยายาม คงดั้นด้นเรียกหาธิดาไปตามทาง มิได้ห่วงถึงภาระหน้าที่ประจำที่เคยปฏิบัติแต่อย่างใด ดอกไม้ทั้งปวงจึงเหี่ยวเฉาเพราะขาดฝนชะโลมเลี้ยง พืชพันธุ์ธัญญาหารถูกแดดแผดเผาจนเหี่ยวเฉา ในที่สุดเจ้าแม่ก็สิ้นหวัง ลงนั่งพักที่ริมทางแล้วร้องไห้อย่างคร่ำครวญ
     เวลาผ่านไปเมื่อได้รู้ถึงที่อยู่ของธิดาดังนี้แล้วเจ้าแม่ดีมิเตอร์จึงรีบ ไปอ้อนวอนเทพปริณายกให้ช่วย ซูสอนุโลมตามคำวอนขอ โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเพอร์ซิโฟเน่ไม่ได้เสพเสวยสิ่งใดในระหว่างที่อยู่บาดาล จะให้ฮาเดสส่งเพอร์ซิโฟเน่ขึ้นมาอยู่กับมารดา แล้วมีเทวบัญชาให้เฮอร์มีสลงไปสื่อสารแก่ฮาเดสในยมโลก เจ้าแดนบาดาลจำต้องยอมโอนอ่อนจะส่งเพอร์ซิโฟเน่คืนสู่ดีมิเตอร์แต่ในขณะนั้น ภูตครองความมืดแอสกัลละฟัส(Ascallaphus) ร้องประกาศขึ้นว่า ราชินีแห่งยมโลกได้เสวยเมล็ดทับทิมแล้ว 3 เมล็ด ในที่สุดจึงตกลงกันเป็นที่ยุติว่า ในปีหนึ่งๆ ให้เทพีเพอร์ซิโฟเน่อยู่กับฮาเดสในยมโลก 3 เดือน สำหรับเมล็ดทับทิมที่เสวยเมล็ดละเดือนแล้วให้กลับขึ้นมาอยู่กับมารดาบนพิภพ อีก 3 เดือนสลัีบกันอยู่ทุกปีไป
     ด้วยเหตุนี้เมื่อเทพีเพอร์ซิโฟเน่อยู่กับมารดา โลกจึงอยู่ในระยะกาลของวสันตฤดู พืชพันธุ์ธัญญาหารนานาชนิดผลิดอกออกผล และเมื่อเทพีเพอร์ซิโฟเน่ลงไปอยู่ในบาดาล โลกก็ตกอยู่ในระยะกาลของเหมันตฤดู พืชผลทั้งปวงร่วงหล่นซบเซา อันเป็นความเชื่อของชาวกรีกและโรมันโบราณ




เทพเจ้าโพไซดอน เจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร

เทพเจ้าโพไซดอน (Poseidon)


 

เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีสามง่ามเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าด้วย
ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครโนส กับ เร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 5 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมปัสทั้งสิ้น ได้แก่
1.      เฮสเตีย เทพีแห่งเตาผิง ผู้ดูแลครัวเรือน
2.      ดิมิเตอร์ เทพีแห่งธัญพืชและการเกษตร
3.      เฮรา ชายาแห่งเทพซูส เทพีผู้คุ้มครองสตรีและการสมรส 
4.      ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
5.      ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
ภาพลักษณ์ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดทะเลคลั่งหรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอนเคยคิดที่จะโค่นอำนาจของซุส โดยร่วมมือกับเฮราและอะธีนา แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกับอพอลโลด้วยเช่นกัน
โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่ง ที่เป็นหญิงรับใช้ของอะธีนา คือ เมดูซ่า ก่อนที่จะถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพราะหลงใหลในความงามของเมดูซ่า (บางตำราบอกว่า เมดูซ่า หลงไหลโพไซดอนก่อน และโพไซดอน แปลงเป็นม้ามาร่วมรักกับเมดูซ่า)  เมื่ออะธีนาทราบเรื่องจึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด เมื่อเปอร์ซิอุสตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว (เนื่องจากโพไซดอน แปลงกายเป็นม้ามาร่วมรักกับเมดูซ่า) คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้งเพกาซัสและคริสซาออร์เป็นลูกของโพเซดอนด้วย
โพเซดอน มีพาหนะเป็นม้าน้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้าและท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้งจะพบรูปโพเซดอนอยู่บนรถเทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเล
โพไซดอน เทพเจ้าแห่งทะเลเป็นเทพเจ้าที่หงุดหงิด โมโหง่าย และอารมณ์รุนแรง ดวงเนตรสีฟ้าดุดันมองผ่านทะลุม่านหมอกได้ และเกศาสีน้ำทะเลสยายลงมาเบื้องหลัง เธอได้รับสมญา ว่า ผู้เขย่าโลกเพราะเมื่อปักตรีศูลลงบนพื้นดิน โลกพลันสั่นสะเทือน และแยกออกจากกัน เมื่อฟาดตรีศูลลงบนทะเล บังเกิดคลื่นลูกใหญ่เท่าภูเขา และเกิดพายุมีเสียงครึกโครมน่ากลัว ทำเรือแตกและผู้คนที่อาศัยอยู่ชายทะเลจมน้ำตาย แต่เมื่อยามโพไซดอนอารมณ์ดี ทรงยื่นพระหัตถ์ออกไป ทำให้ทะเลสงบและทรงยกแผ่นดินใหม่ขึ้นจากน้ำ
ในสมัยที่โครนัสและเทพไททันเป็นใหญ่อยู่นั้น เนรูส เป็นผู้ครอบครองทะเล เนรูสเป็นโอรสของแม่พระธรณีกับพอนทัส หรือทะเล ซึ่งเป็นสวามีองค์ที่สอง เนรูสเป็นเทพเจ้าผู้ชราแห่งทะเล มีหนวดสีเทายาว มีหางเป็นปลา และมีธิดาเป็นนางพรายน้ำห้าสิบนาง คือ เนรีด ผู้น่ารัก เมื่อโพไซดอน เทพเจ้าแห่งโอลิมปัสได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าแห่งทะเลแทน เนรูส ผู้ชราที่มีน้ำพระทัยดีก็ทรงยกธิดานามว่า อัมฟิไทรต์ ให้เป็นมเหสีของโพไซดอน แล้วเธอ(เนรุส) เองก็ปลีกตัวไปประทับอย่างสงบในถ้ำใต้บาดาล เนรูสทรงยกปราสาทใต้ทะเลให้แก่พระราชาและพระราชินีองค์ใหม่ด้วย ปราสาทองค์นี้ทำด้วยทองคำตั้งอยู่ในสวนหินปะการังและไข่มุก อัมฟิไทรต์ประทับที่ปราสาทนี้อย่างมีความสุข ห้อมล้อมด้วยนางพรายน้ำพี่น้องอีกสี่สิบเก้านาง นางมีโอรสองค์เดียว นามว่า ไทรทัน ซึ่งมีหางเป็นหางปลาเหมือน เนรูสผู้เป็นอัยกา ทรงขี่หลังสัตว์ทะเลและทรงเป่าสังข์ท่องเที่ยวไปในทะเล โพไซดอนไม่ค่อยประทับอยู่ที่ปราสาท ไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ ทรงโปรดขับรถเทียมม้าสีขาวเหมือนหิมะแข่งกับลูกคลื่น กล่าวกันว่าเธอเนรมิตม้าในรูปของคลื่นที่แตกกระจาย โพไซดอนทรงมีชายาและโอรสธิดามากมาย เหมือนซูสอนุชา แต่อัมฟิไทรต์ไม่ทรงหึงหวงเหมือนเฮรา
มีเกาะหนึ่งที่โพไซดอนทรงยกขึ้นมาสูงกว่าระดับน้ำทะเลชื่อว่า เกาะดีลอส เกาะนี้เพิ่งสร้างขึ้นจึงยังคงลอยไปมาอยู่ในน้ำ เกาะเล็ก ๆ นี้พื้นดินยังไม่อุดมสมบูรณ์ ยังไม่มีพืชพรรณอื่นใดนอกจากต้นปาล์มต้นเดียวเท่านั้น ในร่มเงาของต้นปาล์มนี้ เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สององค์ คือ อะพอลโล กับ อาร์ทีมิส ได้ถือกำเนิดขึ้นมา
ซูสได้อภิเษกกับเทพธิดา ลีโท พอเฮราทรงทราบว่าลีโททรงครรภ์แฝด ก็ทรงกริ้วมาก และรับสั่งห้ามมิให้พื้นดินทุกแห่งในโลกให้ที่พำนักแก่นาง ลีโทจึงต้องซัดเซพเนจรไปเรื่อยไป ไม่สามารถหาที่พำนักเพื่อประทานกำเนิดแก่เทพเจ้าแฝดได้
ในที่สุดนางก็มาถึงเกาะดีลอส เกาะน้อยนี้ให้การต้อนรับนาง เนื่องด้วยเกาะนี้ยังลอยอยู่ ยังไม่ได้เป็นแผ่นดิน จึงมีลักษณะไม่ตรงกับที่เฮราทรงรับสั่งไว้ ลีโททรุดกายลงใต้ร่มต้นปาล์มอย่างเหนื่อยอ่อน แต่ยังประสูติไม่ได้ เนื่องจากเฮรารับสั่งห้ามเทพธิดา อิลิเทียอา.. เทพีแห่งเด็กเกิดใหม่ไม่ให้ช่วยเหลือ ถ้านางไม่ช่วยเด็กจะคลอดไม่ได้ เทพธิดาอื่น ๆ ทรงสงสารลีโท จึงพยายามอ้อนวอนให้พระทัยของเฮราอ่อนลง โดยถวายสร้อยพระศอเส้นงามแก่นาง สร้อยเส้นนี้ยาวเก้าหลา ทำด้วยทองคำและอำพัน ในที่สุดเฮราก็ทรงยอมปล่อยอิลิเทียอาไป แล้วเทพธิดาไอริสทรงนำอิลิเทียอาลงมาหาลีโททางสายรุ้ง
ฝาแฝดพี่องค์แรกของลีโท คือ อาร์ทีมิส เป็นเทพธิดาแสนสวยดุจดวงจันทร์ เส้นเกศาสีดำเหมือนรัตติกาล นางได้เป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ ฝาแฝดองค์รองคือ อะพอลโล ซึ่งเป็นเทพบุตรที่สง่างามราวดวงอาทิตย์ เธอได้เป็นเทพเจ้าแห่งดนตรี แสงสว่างและเหตุผล
ซูสดีพระทัยที่เห็นคู่แฝดสวยงามทั้งคู่ ท่านได้ประทานธนูเงินและลูกธนูเต็มกระบอกให้คนละชุด ลูกธนูของอาร์ทีมิสอ่อนนุ่มเหมือนแสงจันทร์ และผู้ถูกลูกธนูนี้จะตายโดยไม่เจ็บปวดเลย ส่วนลูกธนูของอะพอลโลแข็งและแหลมคมเหมือนแสงอาทิตย์
ซูสประทานพรแก่เกาะนี้และยังผูกติดไว้กับก้นทะเลด้วย หญ้าและไม้ดอกเจริญงอกงามขึ้นจากพื้นดินที่แห้งแล้ง แต่นั้นมา ดีลอสกลายเป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาเกาะของประเทศกรีซ ผู้จาริกแสวงบุญต่างพากันมาที่เกาะนี้ และสร้างเทสาลัยและสมบัติไว้มากมายเพื่อเทิดทูนลีโอและโอรสธิดาคู่แฝดของนาง ในสมัยโบราณ ที่แหลมสุนิอ้อน ห่างจากกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซไม่มาก มีวิหารที่สร้างถวายแด่โพเซดอนอยู่
อำนาจของโปเซดอนซึ่งปกครองดูแลน่านน้ำทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น ทะเลลึก ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร ละหานห้วย หรือแม้แต่เทพและนางอัปสรประจำน่านน้ำทั้งปวง ยังมีประสาทงดงามตระการตาอยู่ใต้ท้องทะเล เอเยี่ยน นอกจากที่ประทับสวรรค์ชั้นโอลิมปัสแล้ว ดังจะเห็นว่านอกจากซูสเทพบดีแล้ว ไม่มีเทพองค์ใดที่มีอำนาจเกรียง ไกรไปกว่าท้าวเธอเลยที่เห็นก็มีเพียง ฮาเดส เทพครองนรก จ้าวแดนบาดาล ซึ่งทำให้ท้าวเธอถึงกับเคยคิดครองความ เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวโดยร่วมมือกับเทวีฮีร่าและเทวีเอเธน่าพยายามโค่นเทพปริณายกซูสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซูสลง ทัณฑ์เนรเทศโปเซดอนให้มาทำงานตรากตรำลำบากบนโลกมนุษย์ในเมืองทรอยโดยต้องสร้างกำแพงกรุง ทรอยให้ท้าว เลือมมิดอน (Laomedon) กษัตริย์ในขณะนั้น
โปไซดอนคือเทวะที่ครอบครองผืนน้ำทุกถิ่นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ หนอง บึง หรือแม่น้ำ ลำคลอง เป็นนายของทุกชีวิตที่แหวกว่ายระเริงชลภายใต้น้ำ รวมทั้งนายตัวที่อยู่บริเวณผิวน้ำด้วยล่ะ แต่กว่าจะได้ตำแหน่งอันมโหฬารพันลึก เป็นใหญ่ในน่านน้ำอย่างนี้ได้ก็ต้องฝ่าฟันศึกใหญ่กันหืดขึ้นคอมาแล้ว เรื่องพี่น้องชิงบัลลังก์ เมื่อก่อนผืนน้ำทั้งหมดเนี่ยเป็นของเทพฝ่ายไททั่น ชื่อโอเชียนุส (Oceanus) ซึ่งก็เป็นผู้สร้างท้องทะเลขึ้นมากับมือ แต่หลังจากที่เทพกลุ่ม อันได้แก่ ซุส โปไซดอน และเฮเดส จับมือกัน ร่วมกันวางแผนเคลียร์ผู้ครองบัลลังก์คนเก่าๆทิ้งไปสำเร็จ โปไซดอน ก็ได้ส่วนแบ่งเป็นอาณาเขตผืนน้ำมาครอง ในขณะที่ ซุส จับจองสวรรค์และ เฮเดสก็ได้ครองยมโลก
ส่วนแบ่งทีมีขนาดมโหฬารพันลึกนี่เองที่ทำให้เทพโปไซดอนกำชะตาของโลกไว้ในอุ้งมือ เพราะทุกสิ่งในโลกมีน้ำเป็นพื้นฐานการดำรงอยู่ ความรู้สึกเช่นนี้ก่อให้ความลำพองใจแกมหาเทพเอามากๆ จนเหมาเอาว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกย่อมต้องเป็นของพระองค์ทั้งหมดเนื่องเพราะต้องอาศัยน้ำของพระองค์ จึงเมื่อพอใจจะประทานแก่ใครก็ให้แต่ผู้นั้น ส่วนคนที่พระองค์ไม่โปรดก็ต้องอดไปตามระเบียบ ความเดือดร้อนของชาวโลกที่เกิดเพราะนิสัยขี้โอ่อันนี้แหละ เลยทำให้บรรดามนุษย์ สัตว์ และภูตพรายต่างๆ พากันเข้าเฝ้าร้องเรียนต่อมหาเทพซูสผู้พี่ให้กำราบเอาบ้าง แต่โปไซดอนนะหรือจะยอม นอกจากจะไม่ฟังแล้วยังบันดาลให้น้ำท่วมเอาเสียบ้าง ให้น้ำแล้งเอาชีวิตเสียบ้าง เป็นการกลั่นแกล้งให้มนุษย์กลัวพระองค์

ผลการที่พระองค์ต้องการกลั่นแกล้งมนุษย์ โดบันดาลให้ผืนดินแห้งแล้ง ภายหลังกลับกลายเป็นหนามแหลมทิ่มแทงองค์เอง ผืนดินที่แตกระแหงไปแล้วไม่สามารถทำให้ชุ่มฉ่ำขึ้นมาได้อีกด้วยบางแห่งถึงกับกลายเป้นทรายไปเลย ยิ่งเห็นพื้นดินแห้งแล้งมากเท่าไรยิ่งทำให้โปไซดอนหัวเสียมากเท่านั้น ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเริ่มรบกวนจิตใจของเทพเจ้า จนไม่ช้าก็ไม่อาจทนเห็นได้อีกต่อไป พระองค์จึงกลับลงไปใต้ท้องทะเลซึ่งปราสาททองคำของพระองค์ตั้งตระหง่านอยู่ที่นั่น มันเป็นที่เดียวเท่านั้นที่จะช่วยรักษาเยียวยาความรู้สึกผิดให้บรรเทาลง กระนั้นโปไซดอนก็ใช่ว่าจะทองะระไปเสียหมด หลายครั้งที่ท้าวเธอออกมาจากพระราชวังใต้ท้องสมุทร ทรงราชรถเทียมอสุรกายประเภทต่างๆ ขึ้นมาสำรวจโลกเหมือนกัน คราใดที่รถทรงของพระองค์ลอยฟ่องอยู่เหนือผิวน้ำยามนั้น เกลียวคลื่นจะแหวกเป็นทางพร้อมๆ กับลมพายุจะโหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่ง เรือใหญ่น้อยที่อยู่ในบริเวณนั้นจุถูกกลืนลงใต้น้ำในชั่วพริบตา น้ำทะเลที่ล้นเป็นระลอกก็จะกวาดชายฝั่งจนบ้านเรือนที่ตั้งเรียงรายอยู่ไม่มีอะไรเหลือ ยิ่งเห็นทะเลคลั่งมากเท่าไรดูเหมือนโปไซดอนจะยิ่งนึกสนุก พระองค์จะยิ่งพุ่งสามง่ามขึ้นไปบนท้องฟ้า บังเกิดเป็นสายฟ้าจากกลุ่มเมฆดำ และสายฝนจะยิ่งเทกระหน่ำลงมาท่วมบ้านเรือนได้รับความเดือดร้อนกันทั่วหน้า กว่ามหาเทพจะเล่นสนุกสะใจ มนุษย์ ก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน จากนั้นท้าวเธอก็จะเสด็จกลับไปสู่ใต้พื้นมหาสมุทรไม่ยอมปล่อยความชุ่มชื้นมาสู่ผิวโลกอีกเป็นเวลาเท่าที่จะพอใจ


เทพของฝรั่ง อาจต่างไปจากเทพที่เรารู้จักตามตำนานไทยหรืออินเดีย ที่มักรู้จักกันแต่ในด้านที่ดีงาม เทพฝรั่งจะมีอำนาจมาก และเต็มไปด้วยพฤติกรรมที่คล้ายมนุษย์หลายอย่างที่บางอย่างก็ไม่น่าเข้าใจ เราฟังมาและเลือกแต่เรื่องดีๆ มาใช้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เทพเหล่านี้ ก็เป็นที่เคารพบูชาของชาวฝรั่งอยู่ และเป็นแบบอย่างหลายเรื่อง รวมทั้งเป็นแรงบันดานใจ ในการทำความดีหลายเรื่องด้วย

เทพเจ้าซุส ราชาแห่งทวยเทพ

เทพเจ้าซุส (Zeus)

เทพซูส เป็นราชาแห่งทวยเทพปกครองเขาโอลิมปัส (Olympus) และเทพแห่งท้องฟ้าและฟ้าร้องของ ตำนานเทพปกรณัมกรีก สัญลักษณ์ประจำพระองค์คือสายฟ้า โคเพศผู้ นกอินทรี และต้นโอ๊ก ซีอุส หมายถึง ความสว่างของท้องฟ้า ในหลายๆ ตำนานกล่าวว่าพระองค์ได้สมรสกับ เทพีเฮร่า (Hera) แต่ก็มีสถานศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมืองดอโดน่า (D0d0na) ที่อ้างว่าคู่สมรสของเทพซุสแท้จริงแล้วคือ เทพีไดโอนิ  (Dione) นอกจากนี้ มหากาพย์อีเลียด (Illiad) ยังกล่าวไว้ว่าเทพซูสเป็นพระบิดาของ เทพีอโฟรไดต์ (Aphrodite) ที่กำเนิดจากเทพีไดโอเน่อีกด้วย
เทพซุสมักมีชื่อเสียงในพฤติกรรมนอกลู่นอกทางเรื่องชู้สาวของพระองค์ ซึ่งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มนาม แกนีมีด (Ganymede) ด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของพระองค์ทำให้เกิดผู้สืบเชื้อสายอยู่หลายองค์และหลายคนด้วยกัน เช่น เทพีอาธีน่า (Athena) เทพอพอลโล (Apollo) และ เทพีอาร์ทีมีส (Artemis) เทพเฮอร์มีส (Hermes)  วีรบุรุษเฮอร์คิวลีส (Hercules กษัตริย์ไมนอส  (Minos) และเหล่าเทพีมิวเซส (Muses) ส่วนผู้สืบเชื้อสายที่เกิดจากเทพีเฮร่าโดยตรงได้แก่ เทพเอรีส (Ares)  เทพีเฮบี (Hebe) และเทพ  เอฟเฟสตตุส (Hephaestus)  เทพีเอริส (Eris) และ เทพีไอไลธีเอีย  (Eileithyia)
ตำนานกำเนิดของเทพซุส เทพีไกอาเทพมารดาแห่งผืนดินสมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่งสร้างความภาคภูมิใจแก่เทพยูเรนัสมาก แต่บุตรคนต่อๆมาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่างๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และด้วยความช่วยเหลือของเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ แต่เทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่บิดาเคยทำ
เทพโครนัสกังวลมากเพราะหลังจากนั้น เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน เฮรา ซุส ซึ่งพอกำเนิดมาก็โดนเทพโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่ซุสหนีออกมาได้จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 6 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส

เทพีเฮร่า ราชินีแห่งทวยเทพ

เทพีเฮร่า ราชินีแห่งทวยเทพ


          เป็นราชินีของเทพธิดาทั้งหลาย เพราะเป็นชายาของซุส และ เฮร่า ยังเป็นธิดาคนโตของ เทพไทแทนโครนัส กับเทพีรีอา อีกด้วย ต่อมาในตอนหลังได้อภิเษกสมรสกับ ซุส ซึ่งเป็นน้องชายของนาง ทำให้นางกลายเป็นราชินีสูงสุดในสวรรค์ชั้นโอลิมปัส

     โครนอส และ รีอา มีบุตรธิดาด้วยกันห้าองค์ซึ่งโครนอสกลืนลงท้องไปซะสี่องค์ เหลือซุสผู้เดียว ที่เหลือรอด กลับมาทวงสิทธิคืน(ด้วยกำลัง) จนได้ตำแหน่งมหาเทพไปครอง เฮร่าก็เป็นหนึ่งในสี่ที่ถูกโครนอสกลืนลงไป นางเป็นลูกคนที่สามของพี่น้องทั้งห้า เมื่อตอนที่โครนอส ดื่มน้ำยาที่เมทิสผสมขึ้นเพื่อให้คายลูกๆ ทั้งสี่ออกมานั้น ความงามของเฮร่า ก็เป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลก โดยเฉพาะต่อซุสจอมเทพ เทวีเฮร่า ไม่ชอบนิสัยเจ้าชู้ของซุส ด้วยเหตุที่ซุสเป็นคนเจ้าชู้ ทำให้เฮร่ากลายเป็นคนขี้หึง และคอยลงโทษ หรือพยาบาท คนที่มาเป็นภรรยาน้อยของซุสอยู่เสมอ
     ซุสคลั่งไคล้นาง ต้องการได้นางเป็นภรรยา แต่ทว่าเฮร่าไม่ต้องการเช่นนั้น เนื่องจากต้องติดอยู่ในท้องของบิดามาตลอดชีวิตวัยเยาว์ เฮร่าจึงต้องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ไม่รีบร้อนที่จะคิดมีพันธะใดๆ จึงไปอยู่ที่เฮร่าเออุม ซึ่งเป็นวิหารศักดิ์สิทธิ์ของตนในอาร์กอสโดยมี นางไนแอดส์ หรือ นางเงือก แห่งทะเลสาบอย่าง ยูรีโบอา โปรซีมนา และ อาคราเออา เป็นนางกำนัลคนสนิทคอยรับใช้ดูแล แต่มีบางตำนานกล่าวว่า ผู้ที่ดูแลเฮร่าก่อนที่นางจะสมรสกับซุส คือ เทเมนุส บุตรแห่งเพลาสกุส ซึ่งเขาก็คอยดูแลเฮร่า อย่างจงรักภักดีโดยตลอด และได้สร้างเจดีย์ขึ้นมาสามองค์เพื่อระลึกถึงวัยต่างๆของเฮร่า คือ ก่อนสมรสกับซุส นั้นคือวัยเยาว์ สมรสกับซุสแล้วคือวัยผู้ใหญ่ และเมื่อตอนทะเลาะกับซุส แล้วหนีจากโอลิมปุส มาพำนักกับราชาสติมฟาลุส แห่งอาร์คาเดีย และเทเมนุส คือวัยม่าย
     เมื่อแรกที่ซุสขอแต่งงาน เฮร่าปฏิเสธ และ ปฏิเสธเรื่อยมาจนถึง 300 ปี วันหนึ่งซุสคิดทำอุบายปลอมตัวเป็น นกกาเหว่า เปียกพายุฝน ไปเกาะที่หน้าต่าง เฮร่าสงสารก็เลยจับนกมาลูบขน พร้อมกับพูดว่า ฉันรักเธอ ทันใดนั้นซุสก็กลายร่างกลับคืน และบอกว่า เฮร่าต้องแต่งงานกับพระองค์ แต่ทว่าชีวิตการครองคู่ ของเทวีเฮร่ากับเทพซุส ไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก มักจะทะเละเบาะแว้งมีปากเสียงกันตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า ในเวลาที่เกิดฟ้าคะนองดุเดือดขึ้นเมื่อไร นั่นคือ สัญญาณว่า ซุสกับเฮร่า ต้องทะเลาะกัน เป็นแน่ เพราะ 2 เทพนี้เป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์
     เทวีเฮร่ามีศักดิ์เป็นถึงราชินีแห่งสวรรค์ หรือเทพมารดาแทนรีอา แต่ความประพฤติ และอุปนิสัย ของเทวี ไม่อ่อนหวานมีเมตตาสมกับเป็นเทพมารดาเลย โดยประวัติของเทวีนั้นมีทั้งโหดร้าย ไร้เหตุผล เจ้าคิดเจ้าแค้น และอาฆาตพยาบาท จนถึงที่สุด ผู้ใดก็ตามที่ถูกเทวีเฮร่าอาฆาตไว้มักมีจุดจบที่ไม่สวยงามนัก ว่ากันว่า ชาวกรุงทรอยทั้งเมือง ล่มจมลงไปเพราะเพลิงอาฆาตแค้นของเทวีเฮร่านี้เอง สาเหตุเกิดจาก เจ้าชายปารีส แห่งทรอย ไม่เลือกให้เทวีชนะเลิศ ในการตัดสินความงาม ระหว่าง 3 เทวีแห่งสวรรค์ คือเทวีเฮร่า เทวีเอเธน่า และ เทวีอโฟรไดท์
     รูปเขียนรูปสลัก ของชาวกรีกโบราณ มักทำรูปของเทวีเฮร่า เป็นเทวีวัยสาวที่สวยสง่า ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น ว่ากันว่า มีคนหลงใหลความงามของเทวีหลายคน โดยเฉพาะ อิกซิออน (Ixion) ราชาแห่งลาปิธี (Lapithae) ต่อมาถูกซุส ลงโทษอย่างรุนแรง และบางที อาจเป็นเพราะทรนงตนว่ามีสิริโฉมงดงามก็ได้ ที่ทำให้ เทวีเฮร่า เป็นเดือดเป็นแค้นนัก ที่สวามีปันใจให้สตรีอื่น จึงต้องราวีอย่างถึงที่สุดเสมอ ความร้ายกาจของเทวีเคยถึงขนาดคิดปฏิวัติโค่นอำนาจของสวามีจนเกือบสำเร็จ


     เรื่องมีอยู่ว่า เทวีโกรธแค้นความไม่ซื่อสัตย์ของสวามีขึ้นมาอย่างเต็มกลืน จึงร่วมมือกับ เทพโปเซดอน จ้าวสมุทร เชษฐาของซุสเอง เทพอพอลโล และ เทวีเอเธน่า ช่วยกันรุมจับองค์เทพซุส มัดพันธการไว้แน่นหนา จนเป็นเหตุให้ เทพซุสจวนเจียนจะสูญเสียอำนาจอยู่รำไร ก็พอดีชายาอีกองค์ของซุสนามว่า มีทิส (แปลว่าผู้มีปัญญา) ได้นำผู้ช่วยเหลือ มากู้สถานการณ์ได้ทันเวลา โดยไปพา อาอีกีออน (Aegaeon) ซึ่งเป็นอสูรร้อยแขน ที่น่าประหวั่นพรั่นพรึง มาช่วยเหลือเทพซุส อสูรตนนี้มีฤทธิ์อำนาจมากเสียจนเทพเทวา น้อยใหญ่ ต้องยอมศิโรราบไปตาม ๆ กัน เมื่อ อาอีกีออน มาแก้ไขให้ซุส และนั่งเฝ้าอยู่ข้างบัลลังก์ของซุส บรรดาผู้คิดกบฎปฎิวัติก็ขวัญเสีย ชวนกันหนีหน้าไปหมด แผนการณ์จึงล้มครืน ซุสจึงได้ลงโทษอย่างสาสมต่อความผิด โดยให้ อพอลโล และ โปเซดอน ไปใช้แรงงานช่วยกันสร้างกำแพงเมืองทรอย ส่วนชายาอย่างเฮร่าก็ถูกจับล่ามไว้บนท้องฟ้า
     องค์เทพซุสเองก็เคย ร้ายกาจกับราชินีเทวีเฮร่าเหมือนกัน โดยลงโทษทัณฑ์แก่เทวีอย่างไม่ไว้หน้าอยู่บ่อย ๆ นอกจากทุบตีอย่างรุนแรงแล้ว ยังใส่โซ่ตรวนที่เท้าของเทวี กับ ผูกข้อมือมัดโยงอยู่บนท้องฟ้า จนเป็นเหตุให้เกิดตำนานเกี่ยวกับเทพ ฮีฟีสทัส ขึ้นมาว่า จากการวิวาทครั้งนี้ เทพฮีฟีสทัสผู้เป็นโอรส เข้าขัดขวางมิให้พระบิดากระทำรุนแรงแก่พระมารดา จึงทำให้ซุสที่กำลังโกรธจัด จับตัวฮีฟีสทัสขว้างลงมาจากสวรรค์ กลายเป็น เทพพิการไปเลย
     เทวีเฮร่า นอกจากขี้หึงแล้ว ยังช่างริษยามากอีกด้วย ครั้งหนึ่งเมื่อซุสทรงมีราชธิดานามว่า เอเธน่า ออกมาได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร ซึ่งกระโดดออกมาจากเศียรของซุสเอง เทวีเฮร่าก็ริษยายิ่งนัก ตรัสว่าเมื่อสวามีทรงมี กุมารี ด้วยองค์เองได้ นางเองก็มีได้ เช่นกัน ทว่าบุตรที่เกิดจากตัวเทวีเองนั้น กลับมิได้สะสวย เรืองฤทธิ์เช่นเอเธน่า แต่เป็นอสูรร้าย น่าเกลียดน่ากลัวยิ่ง คืออสูร้าย ไทฟีอัส (Typheus) (แต่บางตำนานกล่าวว่าบุตรที่ได้จากเทวีเฮร่าก็คือ ฮีฟีทัสนั่นเอง) ซึ่งผู้ใดเห็นก็หวาดกลัว เลยทำให้เทพซุสโกรธเป็นอย่างมาก และการวิวาทบาดหมางก็เกิดขึ้นอีก
เทวีเฮร่า มีโอรสธิดากับเทพซุส ดังต่อไปนี้
     1. เฮเบ (Hebe) หรือ แกนีมีดา เทพธิดาแห่งความเยาว์วัย รับหน้าที่ถือถ้วยเทพเจ้า แต่ภายหลังโดนปลดเนื่องจากไปก่อเรื่องวุ่นวายขึ้น
     2. อิลลิธธียา (Ilithyia) หรือ ลูซิดา ในตำนานโรมัน ซึ่งเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก
     3. เอเรส (Ares) หรือ มาร์ส เทพเจ้าแห่งสงคราม
      4. ดิสคอร์เดีย เทพธิดาแห่งการวิวาทบาดหมาง ฝาแฝดของอาเรส (ซึ่งเป็นเทพธิดา ผู้กลิ้งลูกแอปเปิ้ลทองคำ ที่สลักคำว่า แด่ผู้ที่งดงามที่สุดเข้าไปในกลุ่มเทพธิดา ที่มาใน งานแต่งงานในโอลิมปุส จนผลของการตัดสินของเจ้าชายปารีส นำไปสู่มหาสงครามเมืองทรอย ซึ่งทำให้ทรอยล่มสลาย)
     5. อาร์จี เป็นนางเงือก

     6. ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือวัลแคน เทพแห่งการช่าง เทพองค์นี้ ส่วนมากว่าเป็นโอรสที่เฮร่า ให้กำเนิดฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวกับซุส หรือชายใดเหตุจากการที่ซุสให้กำเนิดเอธีนา และ ไดโอนีซุส จากร่างตนเอง และทั้งสองก็เป็นเทพที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก ส่วนบรรดาบุตรธิดาของนาง ไม่ค่อยจะเป็นที่ต้อนรับของชาวกรีกสักเท่าไหร่ โดยคนหนึ่ง เป็น เทพแห่งสงคราม (ชาวกรีกไม่นิยมชมชอบการทำสงคราม) อีกคนไปไหนคนก็อยากจะหลบ เพราะเป็นเทพธิดา ที่ชอบทำให้เกิดความบาดหมาง อีกคนแม้จะได้ตำแหน่งอันทรงเกียรติถือถ้วยเทพเจ้า แต่ก็ไม่วายก่อเรื่องจนถูกปลดลงจากตำแหน่ง
      ด้วยความนิยมที่มีต่อ บรรดาลูกๆ ของนางกับซุสไม่ค่อยเป็นที่นิยม ทำให้เฮร่ารู้สึกริษยาเอธีนา และ ไดโอนีซุส จึงลองมี โอรสด้วยตนเอง แต่ผลลัพธ์ที่เกิดก็ทำให้นางแทบร้องไม่ออก เพราะเฮเฟตุส ที่นางให้กำเนิด มีร่างกายพิกลพิการ ไม่สมกับเป็นเทพ จนซุสกล่าวหาว่าเฮร่ามีชู้ จนต้องพาไปสาบาน ด้วยน้ำในแม่น้ำสติกซ์ ซุสจึงยอมเชื่อและนี่ก็เป็นตำนานที่ขัดแย้งกันเอง เนื่องจากว่าตอนที่เอธีนากำเกิด ซุส ใช้ให้ เทพเฮเฟตุส เอาขวาม จามพระเศียร เพื่อดูว่าทำไมจึงปวดเศียรนักหนา หลังจากจามลงไปแล้ว เทพีเอธีนา ก็กระโดดออกมาจากรอยแยกของเศียรบิดา ส่วน เฮเฟตุสก็เกิดจากการที่ เทวีเฮร่า อิจฉาความนิยมที่มีต่อเทวีเอธีนาที่เกิดจากซุส จึงลองให้กำเนิดจากศรีษะของตนเองบ้าง
     ด้วยว่าชีวิตการแต่งงาน ของนาง ไม่ค่อยมีความราบรื่น ต้องผจญกับปัญหามากมายที่สามีไปก่อไว้ แต่นางก็เป็นเทพีที่ซื่อสัตย์ไม่นอกใจสามี เฮร่าจึงเป็นเทพีที่อุปถัมภ์ การแต่งงานและเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ของชีวิตคู่ โดยที่คู่บ่าวสาวกรีกโบราณ ต้องขอพร และทำพิธีบูชาเฮร่าในวันที่พวกเขาแต่งงาน เพื่อให้ชีวิตคู่ราบรื่นถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร
     ในส่วนของชู้ รักมากมายของซุสต้องจบชีวิตลงเพราะเฮร่า เช่น กรณีที่ดูโหด และ ทำร้ายจิตใจของซุส ก็ได้แก่การที่ทำให้เซเมเล่มารดาของไดโอนีซุสต้องตายด้วย คำสาบาน ที่นางขอจากซุส โดยที่เฮร่าจำแลงกายเป็นนางพี่เลี้ยงของเจ้าหญิงเซเมเล่ และให้นางทูลขอพร ที่ซุสที่เคยให้คำสัตย์ ต่อเจ้าหญิงน้อยว่า จะให้สิ่งใดก็ได้ที่นางขอหนึ่งอย่าง เฮร่าในร่างแปลง ยุให้เซเมเล่ ให้ซุสดื่มน้ำจากแม่น้ำสติกซ์ (แม่น้ำแห่งสัจจะ) ซึ่งผู้ดื่มเข้าไปแล้วจะพูดแต่ความจริง หากสัญญาก็ต้องทำตามคำที่ลั่นไว้ เซเมเล่ก็ขอพร ให้ซุสปรากฎกาย ในร่างเทพเจ้า และสวมชุดเกราะเต็มยศ ตามที่นางพี่เลี้ยงตัวปลอมบอก ซุสจำต้องทำให้ แม้จะรู้เต็มอกว่า หญิงคนรักต้องตาย ซึ่งก็สมปรารถนาเฮร่า ร่างของเซเมเล่ มอดไหม้ เป็นมหาจุล ในพริบตา ด้วยลำแสงร้อนแรง จากรัศมีของมหาเทพ แต่ซุสก็ช่วยชีวิตทารกในครรภ์ได้ทัน โดยคว้ามาจากท้อง เซเมเล่ ก่อนนางจะตาย และเอามาฝังไว้ที่ต้นขาของตนเอง จนกระทั่งถึงกำหนดคลอด
     1.อัลมีเน่ มารดาของวีรบุรุษจอมพลัง เฮร่าเคลส หรือ เฮอร์คิวลิส ก็เกือบตาย ขณะที่หลับใหลด้วยความอ่อนเพลียจากการคลอดบุตร เพราะเฮร่าส่งอสรพิษยักษ์ไปให้ฆ่าทั้งแม่และลูก แต่หนูน้อยเฮอร์คิวลิส ตื่นขึ้นมาก่อน จึงจับคองูยักษ์แกว่งไปมา และบีบคองูร้ายตายด้วยความไร้เดียงสา และการกระทำนี้เอง ที่ทำให้เฮร่ารู้สึกว่าเจ้าเด็กทารกคนนี้ต่อกรกับตนได้ตั้งแต่เกิด เฮร่าจึงตาม จองล้างจองผลาญ มาตลอด จนเฮอร์คิวลิสมีครอบครัว เฮร่าก็ทำให้เฮอร์คิวลิสคลั่งจนฆ่าภรรยา และลูกชายทั้งสองตายด้วยมือตัวเอง
     2.ฝาแฝด ผู้เลื่องชื่ออย่างอพอลโล และอาร์เตมิส ก็เกือบที่จะไม่ได้เกิด เพราะ เฮร่าส่งไพธอน ไปไล่ฆ่าเลโตมารดาของทั้งสอง ในขณะที่ตั้งครรภ์ใกล้คลอดแบบกะไม่ให้เด็กได้เกิด ถ้าเลโต ไม่เสี่ยงหนีลงทะเล และโปเซดอน ไม่บันดาลเกาะเดลอสขึ้นมา ก็คงไม่ได้มีโอกาสรู้จักเทพแฝดคู่นี้ เมื่อแฝดผู้พี่เติบใหญ่ ก็สังหารเจ้าไพธอน และ ยึดวิหารแห่งเดลฟีที่เคยเป็นเทวาลัยของเฮร่ามาเป็นของตน
คาลิสโต ชู้รักคนหนึ่งของซุสก็ถูกซุสสาปให้เป็นกลุ่มดาวหมีใหญ่บนท้องฟ้า เพื่อปกป้องนางจากเฮร่า (บ้างก็ว่าจากคำสาปของอาร์เตมิส เพราะนางเป็นหญิงผู้รับใช้เทพธิดาแห่งจันทราผู้ไม่นิยมการครองเรือน แต่หญิงรับใช้กลับท้องซะเอง)
     3.แม้แต่นักบวชหญิงแห่งอาร์กอส ผู้รับใช้เฮร่าอย่างไอโอ ก็ต้องเกือบตายด้วยฤทธิ์แรงหึง เมื่อซุสแอบมีสัมพันธ์กับนาง เฮร่า จะเอาเรื่องจนซุส ต้องแปลงร่างไอโอเป็นวัว เฮร่าก็แสร้งทูลขอจากซุส และ ให้อาร์เกสอสูรไซคอล์ป ผู้ที่ไม่หลับ เฝ้าวัวแปลงเอาไว้ เมื่อนางหนีไปก็ต้องระหกระเหินไปถึงอียิปต์ ซึ่งได้สมรสกับราชาเทเลโกนุสของอียิปต์ และ เป็นบรรพชน ของดานาอุส (บิดาของ ดานาอีทั้งห้าสิบ)
      แม้จากตัวอย่างเหยื่อความโหดของเฮร่า จะมีมากมาย และวิธีจัดการดูน่ากลัว แต่เทวีแห่งสรวงสวรรค์ จะมุ่งร้ายก็ เฉพาะพวกที่เป็นศัตรู ส่วนพวกที่บูชานางก็จะได้รับผลตอบแทน ที่แสนดีกลับคืน เพราะนางจะคอยดูแลทุกข์สุขโดยตลอด อย่างเช่นที่นางได้ให้ความช่วยเหลือต่อเจ้าชายเจสัน ตั้งแต่ต้นในการตามหาขนแกะทองคำ หากไม่มีนาง เจสันและเรืออาร์โกของเขาก็คงจะประสบปัญหาอับปางลงอย่างแน่นอน
     เฮร่าโปรดปรานเมืองอาร์กอส และชาวเมืองที่นั่นมากที่สุดในบรรดาพวกกรีกด้วยกัน และยังเป็นเทพีประจำนครนั้น เนื่องจาก บิดามารดาของเจสันรวมทั้งตัวเขา และเมืองโครินธ์ บูชานาง เฮร่าจึงช่วยเหลือ โดยแปลงร่างเป็นหญิงชรามาช่วยให้เหตุการณ์เป็นไปตามทำนายที่ว่า ผู้ที่มาทวงบัลลังก์คืนจะสวมรองเท้าข้างเดียว และยังคอยช่วยให้เขาฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย รวมทั้งยังสั่งให้อีรอส แผลงลูกศรทองคำใส่นางเมเดอา แม่มดสาวคนงาม ผู้เป็นธิดาของราชาเออีเตส แห่งโคลคิสผู้ครอบคองขนแกะทองคำ ทำให้นางหลงรัก เจสัน และช่วยเขา ให้ทำภารกิจที่เออีเตส มอบหมายเสร็จสมบูรณ์โดยไม่เป็นอันตราย และเมเดอา ยังช่วยขโมยขนแกะ เมื่อเออีเตสบิดพริ้ว รวมถึงช่วยให้เจสันหนีการตามล่าของเออีเตสผู้เป็นบิดาของนางอีกด้วย
      ผลไม้ที่เฮร่าโปรดก็คือแอปเปิ้ลและทับทิม สวนแอปเปิ้ลทองคำ ที่พวกเฮสเพอริเดสลูกสาว ของของไตตันแอตลาส คอยเฝ้าดูแล ก็เป็นสมบัติของเฮร่า
ส่วนชนชาติที่เฮร่าชัง ก็คงจะหนีไม่พ้นพวกโทรจัน ด้วยเหตุที่ว่าเจ้าชายปารีสไม่เลือกนางเป็นผู้ที่สวยที่สุด ดังนั้นในสงครามระหว่างทรอยกับกรีก เพื่อแย่งชิงราชินีเฮเลน เฮร่าก็อยู่ฝ่ายกรีกตามแรงแค้น
นอกจากพวกโทรจันที่เทพีเฮร่าไม่โปรดแล้วนั้น  นางซิดี ผู้ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกของโอไรออน นายพราน มือฉมัง (ภายหลังถูกอาร์เตมิสสาป และ จบชีวิต อย่างน่าเศร้า) คุยโอ่ว่าตัวเองสวยเลอเลิศกว่าใครๆ ในโลกนี้ แม้แต่เฮร่าจอมเทวี ก็ไม่อาจจะมาทาบ รัศมีของตนเองได้ โชคร้าย ของนางซิดี ที่เฮร่าได้ยินเต็มสองรูหู เฮร่าจึงทำให้ซิดีไม่มีโอกาสโม้ให้รำคาญใจและเจ็บใจได้อีกต่อไป นางจึงจัดการส่งซิดี ไปไกลๆจากการได้เห็นได้ยินโดยส่งตรงไปยังยมโลก


      เฮร่าเป็นตัวแทนของความงามสง่าเย่อหยิ่งเยี่ยงราชินี ในขณะที่อะโฟรไดท์ จะมีความสวยงามในทางเย้ายวนแบบหญิงสาว เฮร่าก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของภรรยา ที่ซื่อสัตย์ไม่นอกใจสามี และ สตรีขี้หึงอีกด้วย แม้ว่าชีวิตสมรสของ เทวีเฮร่า จะไม่ราบรื่นนัก แต่ในฐานะที่เป็นราชินีหรือเป็นมารดาแห่งสวรรค์ เฮร่าเป็นเทพที่คุ้มครองการแต่งงาน มีหลายครั้งที่เธอคอยดลใจให้วีรบุรุษได้แสดงความกล้าหาญ จึงทำให้เป็นที่เคารพนับถือในเขตโอลิมปัส เทวาลัยที่เป็นที่บูชาขนาดใหญ่ที่สุดของเทวีเฮร่า อยู่ที่เมืองอาร์กอสเรียกว่า เดอะ เฮร่าอีอุม (Heraeum)