วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

เทพเจ้าไดอะไนเซิล (Dionysus)

เทพเจ้าไดอะไนเซิล (Dionysus)
 
ไดอะไนเซิส ใน ตำนานเทพเจ้ากรีก ไดอะไนเซิสเป็นเทพเจ้าแห่งไวน์  ผู้เป็นแรงบันดาลใจของความประเพณีความคลั่งและความปิติอย่างล้นเหลือ (ecstasy) และเป็นเทพองค์ล่าสุดในสิบสองเทพโอลิมปัส ที่มาของไดอะไนเซิสไม่เป็นที่ทราบ แต่ตามตำนานว่าได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ
เทพไดโอไนซูส เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แบคคัส เทพแห่งเมรัย และไวน์องุ่น เป็นบุตรของเทพซูสกับนางซิมิลี่ ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซูสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์ เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส
ไดอะไนเซิสผู้เป็นเทพของการเกษตรกรรม และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า ผู้ปลดปล่อย” (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น หน้าที่ของไดอะไนเซิสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนเซิสกับ คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณและความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว


เทพีอะโพร์ไดท์ (Aphrodite)

เทพีอะโพร์ไดท์ (Aphrodite)

   
เทพีอะโพรไดท์หรือเทพีวีนัส เป็นเทพีแห่งเทพปกรณัมโรมันที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรักและความงาม หรืออีกชื่อคือ อโพรไดท์ (Aphrodite) แห่งเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นชายาของเทพวัลคัน (Vulcan) หรือเฮฟเฟสตุสเทพแห่งงานช่าง เทพีวีนัสตามตำราว่าเกิดขึ้นเองจากฟองทะเล ด้วยพระนามของพระนาง อะโฟรไดท์ นั้น มาจากคำว่า ‘Aphros’ที่แปลว่าฟอง มีตำนานว่าพระนางเกิดในทะเลใกล้เกาะไซเธอรา และถูกคลื่นซัดไปยังเกาะไซปรัส แต่บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพซุสที่เกิดจากจากนางอัปสรไดโอนี แต่ที่ตรงกันคือพระนางมีความงดงามที่ไม่มีใครเทียมได้แม้กระทั่งเทพธิดาด้วยกัน และสามารถสะกดใจผู้ชายทุกคนได้ภายในพริบตาแรกที่มองเห็นพระนาง อีกทั้งพระนางก็ชอบใจในความสวยงามของตนเองมากเสียด้วย พระนางจึงไม่ยอมเด็ดขาดหากใครจะกล้าล้ำเส้นเทพีความงามของพระนาง ด้วยแรงริษยาที่รุนแรงพอๆกับรูปโฉมสะสวยทำให้เทพีวีนัสเป็นที่หวาดหวั่นของเทพหลายๆองค์
ในวันแรกที่เทพีวีนัสปรากฏตัวบนเขาโอลิมปัส เทพชายทุกองค์โดยเฉพาะเทพซุสเองก็อยากได้พระนางมาครอบครอง แต่เทพีวีนัสไม่ใช่หญิงสาวเรียบร้อยหัวอ่อนว่าง่าย ทำให้เทพซุสเกิดความโมโหและแก้เผ็ดพระนาง โดยจับพระนางแต่งงานกับเทพวัลแคนพระโอรสของพระองค์ ซึ่งเทพวัลแคนชอบขลุกอยู่ในโรงงาน ก่อสร้าง และประดิษฐ์สิ่งต่างๆเนื้อตัวมอมแมม แถมยังเป็นเทพขาพิการ ทำให้เทพีวีนัสโกรธเคืองอย่างมาก แต่พระนางก็กล้าทำในสิ่งที่เทพีอื่นๆ ไม่กล้า นั่นคือการคบชู้สู่ชายแบบตามใจชอบดังเช่น
 เทพอาเรส เทพแห่งสงคราม โอรสอีกองค์ของเทพซุสและเป็นน้องชายร่วมท้องของเทพวัลแคน ด้วยความที่มีรูปร่างหน้าตางดงามหล่อเหลา ทำให้ทั้งสองเทพเทพีเกิดรักใคร่กันในใจเงียบๆแต่แรกเจอ แต่เมื่อเทพีวีนัสถูกจับคลุมถุงชน ทั้งสองจึงยอมอยู่กินกันแบบชู้รักอย่างมีความสุข กระทั่งมีพยานรักด้วยกันถึง 4 องค์ คือ
- คิวปิด กามเทพ เทพเจ้าแห่งความรัก มีชายาเป็นคู่แค้นเก่าของมารดานามว่า เทพีไซคี และมีธิดาหนึ่งองค์กับพระชายา นามว่า เดลิซิโอ
- แอนตีรอส โอรสองค์รอง เป็นเทพเจ้าแห่งการรักตอบ
- ฮาร์โมเนีย หรือ เฮอร์ไมโอนี ธิดาองค์ที่สาม ซึ่งเทพอาเรสยกให้แต่งงานกับแคดมัส ผู้ก่อตั้งเมืองธีบส์ โดยเทพอาเรสไม่รู้เลยว่า พระองค์ได้สาปแช่งแคดมัสไว้ ธิดาองค์นี้ในที่สุดก็กลายร่างเป็นงูตามสวามี และลูกหลานสืบต่อมาจึงประสบกับชะตาอันน่าเศร้า อย่างที่รู้จักกันดีคือ โอดิปุส ผู้ซึ่งฆ่าพ่อของตนและได้แม่เป็นภรรยา
- อัลซิปเป ธิดาองค์สุดท้อง มีรูปโฉมงดงามจนถูกโอรสเทพโพไซดอนลักพาตัวไป ท้ายสุดเทพอาเรสตามชิงธิดากลับมาได้ และฆ่าโอรสเทพโพไซดอนตาย เทพโพไซดอนโกรธเคืองมากถึงขนาดต้องขึ้นศาลกับเทพอาเรส แต่ท้ายที่สุดเทพอาเรสชนะความ
เทพเฮอร์มีส ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดากับเทพอาเรสและเทพวัลแคน เป็นเทพแห่งการติอต่อสื่อสาร การโกหก และการขโมย ทั้งสองมีโอรสชายด้วยกันหนึ่งองค์คือ เฮอร์มาโฟไดทัส แต่ภายหลังก็กลายเป็นเทพสองเพศ เพราะมีนางอัปสรชื่อ ซาลมากิส มาหลงรักเฮอร์มาโฟไดทัส ทว่าเขาไม่ไยดีต่อนางเลย นางจึงวิงวอนแก่เทพเจ้าให้นางได้ติดตามเขาไปทุกที่ ท้ายสุด นางซาลมากิสก็ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเฮอร์มาโฟไดทัสตามแรงอธิษฐาน ทำให้เฮอร์มาโฟไดทัสมีสองเพศนับแต่นั้นมา
 อาโดนิส ชายรูปงามซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดอกกุหลาบ เล่ามาว่า ครั้งหนึ่งในป่าใหญ่ ขณะเทพีวีนัสกำลังประพาสป่า เกิดพบต้นไม้ใหญ่งดงามต้นหนึ่งหักโค่นลง และภายในมีเด็กชายหน้าตาน่ารักอยู่ พระนางจึงรับเด็กชายไว้และตั้งชื่อเขาว่า อาโดนิส พระนางฝากเทพีเพอร์เซโฟนี่มเหสีแห่งเทพฮาเดสดูแล จนกระทั่งเวลาล่วงเลยผ่านมา เทพีวีนัสบังเอิญถูกศรรักของโอรสสะกิดจนเป็นแผลเล็ก และเวลาประจวบเหมาะกับที่อาโดนิสเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วมาปรากฏตรงหน้าพระนาง ทำให้เทพีวีนัสหลงรักอาโดนิสปักใจ และขออาโดนิสคืนจากเทพีเพอร์เซโฟนี่ แต่องค์เทพีไม่ยินยอมด้วยความผูกพันที่มีต่อชายหนุ่ม ทั้งสองเทพีจึงเกิดเบาะแว้งกันใหญ่โต เทพซุสจึงตัดสินให้อาโดนิสสามารถอยู่กับเทพีวีนัสสี่เดือนบนโลกมนุษย์ อยู่อีกสี่เดือนในยมโลกกับเทพีเพอร์เซโฟนี่ และอีกสี่เดือนอาโดนิสจะอยู่ที่ไหนก็ได้ตามใจ (บางตำราก็ว่า แบ่งระหว่างสองเทพีองค์ละ 6 เดือน) แต่เทพอาเรสหึงหวงชายา(ลับ)ของตนมาก จึงแปลงเป็นหมูป่าที่อาโดนิสชอบล่าลวงเขาเข้าป่าไปและฆ่าทิ้ง เทพีวีนัสเสียใจมากที่พบแต่ศพของชายคนรัก พระนางจึงเนรมิตดอกไม้งามขึ้นมาจากเลือดของอาโดนิส ซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แห่งความรัก ดอกกุหลาบนั่นเอง
แอนไคซีส แอนไคซีสเป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นบุตรเขยของท้าวอิลัสปู่ของท้าวเพรียมฝ่ายทรอย ทั้งๆที่เขามีชายาอยู่แล้ว แต่เทพีวีนัสก็หลงใหลในตัวของแอนไคซีสมาก พระนางแปลงตัวมาเป็นนางอัปสรประจำเขาไอดา และหาโอกาสใกล้ชิดกับแอนไคซีส จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ อีเนียส วีรบุรุษ ฝ่ายทรอยในสงครามทรอย ผู้ก่อตั้งอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ เป็นต้น

เทพีอธีนา (Athena)

เทพีอธีนา (Athena)

      เทพีแห่งปัญญา การสงคราม ความฉลาดอย่างเทพ สถาปัตยกรรมและงานฝีมือ เทพีผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์
วิมาน
สัญลักษณ์
บิดามารดา
มีทิสและซูส
ญาติ
เทียบเท่าในโรมัน












เทพีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุสประมุขแห่งเหล่าเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อเทพซุสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซุสโดยตรง
นอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีส ที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และ เฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน
ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่ง มหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า อธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอนซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป ในวัฒนธรรมสมัยนิยมก็ถูกอ้างถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นต้น เช่น เรื่อง เซนต์เซย่า เมื่ออธีนาได้จุติลงมาเป็นเด็กผู้หญิงที่ชื่อ คิโค ซาโอริ ทำหน้าปกป้องโลกจากเทพองค์อื่น ๆ ที่มีความปรารถนาจะครองโลก ซึ่งเป็นตัวเอกฝ่ายหญิงของการ์ตูนเรื่องนี้ทีเดียว



เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes)

เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes)

           เฮอร์มีส  เป็นชื่อเทพเจ้าในปกรณัมกรีก เรียกชื่อในตำนานเทพเจ้าโรมัน ว่า เมอร์คิวรี่ เป็นเทพผู้คุ้มครองเหล่านักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจรผู้เร่ร่อน กวี นักกีฬา นักประดิษฐ์ และพ่อค้า อาจเรียกได้ว่ เฮอร์มีสเป็นเทพแห่งการสื่อสาร 
พระองค์เป็นบุตรของเทพซุสเกิดแต่นางเมยา (Maia) มีของวิเศษคือหมวกและรองเท้ามีปีก เรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเทพบิดา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเทพสื่อสาร และมีคาถาคาดูเซียส (Caduceus) ซึ่งรูปร่างของคถาจะมีคถางูไขว้อยู่สองตัว เฮอร์มีสพบงูสองตัวนี้เมื่อเห็นมันสู้กันเลยเอาคถาทิ่มระหว่างงูสองตัวเพื่อห้ามไม่ให้เกิดความวิวาท งูเลยเลื้อยมาพันอยู่รอบไม้แล้วหันหัวเข้าหากันจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย


บุตรของเทพเฮอร์มีสได้แก่ เทพแพน เทพเฮอร์มาโฟรไดทัส และเทพออโตไลคัส
                                                                                เทพเจ้ากรีก (ภาค 3 วีนัส และ เทพอื่นๆ) เฮอร์มาโฟรไดเต้ Hermaphrodite


เทพเจ้าอาร์เทมีส (Artemis)

เทพเจ้าอาร์เทมีส (Artemis)

อาร์เทอมีส  หรือในภาคโรมันคือ ไดอานา (Diana)คือเทพเจ้าแห่งการล่าสัตว์ เทพีแห่งดวงจันทร์ และเป็นเทพีแห่งความรักทางใจ เป็นธิดาฝาแฝดของเทพซุสกับนางอัปสร ลีโต(Leto) หรือ แลโตนา (Latona) มีพี่ชายร่วมอุทรคือ เทพอพอลโลซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ และการดนตรี

เทพฝาแฝดทั้งสองถูกปองร้ายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะเทพีเฮราซึ่งเป็นมเหสีเอกของเทพซุส เกลียดชังชายาน้อยของสวามีจึงลามไปถึงบุตรที่เกิดจากอนุเหล่านั้นด้วย เมื่อรู้เรื่องของนางลีโต พระนางจึงสาปแช่งนางลีโตว่าจะไม่สามารถคลอดบุตรบนแผ่นดินใดได้ อีกทั้งยังส่งงูร้าย ไพธอน (Python)ตามฉกกัดนางลีโตตลอดเวลา นางลีโตประสบเคราะห์กรรมอย่างน่าสงสารเพราะไปที่ใดก็ไม่มีใครต้อนรับด้วยกลัวเกรงอาญาของเทพีเฮรา ต้องหลบหนีงูร้ายจนอยู่ไม่เป็นสุขและเทพซุสก็กลัวเทพีเฮราเกินกว่าจะช่วยเหลือนางลีโตกับบุตรในครรภ์ได้ กระทั่งครบกำหนดครรภ์ นางลีโตเจ็บปวดทุกข์ทรมานปางตายเพราะไม่อาจคลอดบุตรได้ ทำให้เทพโพไซดอนเกิดความสงสาร จึงบันดาลเกาะดีลอส (Delos)ให้โผล่ขึ้นกลางทะเล ไม่ติดต่อกับแผ่นดินใด นางลีโตจึงพ้นคำสาป จนกระทั่งสามารถประสูติเทพฝาแฝด เทพอพอลโล และเทพีอาร์เทอมิส ออกมาอย่างปลอดภัย
ทันทีที่ประสูติออกจากครรภ์ เทพอะพอลโลก็ฆ่างูไพธอนตาย จนได้นามอีกว่า ไพธูส เมื่อเทพทั้งสองประสูติ เทพบิดาซุสจึงอัญเชิญเทพทั้งสองขึ้นเป็นเทพบนเขาโอลิมปัส และคลายความหมางใจระหว่างเทพีเฮรากับเทพฝาแฝดจนเป็นผลสำเร็จ
ตำนานความรักของเทพีอาร์เทอมีสนั้นมีอยู่สองตำนาน ตำนานแรกคือตำนานของกรีกซึ่งเกี่ยวกับกลุ่มดาวนายพรานซึ่งสุกสว่างอยู่บนท้องฟ้าในยามกลางคืน ส่วนอีกตำนานหนึ่งคือตำนานของโรมันซึ่งกล่าวถึงเอนดิเมียน ชายหนุ่มเลี้ยงแกะรูปงาม ในตำนานของกรีกนั้นกล่าวว่าเทพีอาร์เทอมีสทรงสาบานตนเป็นเทพีพรหมจารีย์ร่วมกับอะธีน่าและเฮสเทียต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ นางชิงชังชีวิตสมรส ความรัก และการยุ่งเกี่ยวกับผู้ชาย แต่สิ่งหนึ่งที่เทพีอาร์เทอมีสไม่ปฏิเสธคือการมีสหายเป็นชายที่รักการล่าสัตว์เช่นเดียวกับพระนาง
สหายสนิทของเทพีอาร์เทอมีสมีนามว่าโอไรออน เขาเป็นนายพรานผู้ฉมังในการล่าสัตว์ มีสุนัขคู่ใจชื่อว่าซิริอุส ทุกๆ วันเทพีอาร์เทอมีสและสหายจะร่วมกันล่าสัตว์และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานหลังจากล่าสัตว์เสร็จ เทพีอาร์เทอมีสหลงรักนายพรานหนุ่มและคิดที่จะสละความเป็นเทพีพรหมจารีย์เพื่อแต่งงานกับโอไรออน อพอลโล่รู้ถึงความคิดนี้เข้าและกลัวว่าอาร์เทอมีสจะต้องรับโทษจากการผิดคำสาบานต่อหน้าแม่น้ำสติกซ์ จึงวางแผนที่จะล้มเลิกความคิดของน้องสาวฝาแฝด อพอลโล่สั่งให้โอไรออนเดินลุยน้ำทะเลไปยังเกาะแห่งหนึ่งกลางทะเล และเมื่อโอไรออนเดินไปถึงยังจุดที่ไกลจนเมื่อมองจากเกาะดีลอสแล้วจะเห็นเพียงศีรษะของโอไรออนที่มองดูเหมือนกับเกาะกลางน้ำ เทพอพอลโล่ก็ชวนเทพีฝาแฝดมาล่าสัตว์แข่งกัน และท้าพนันให้อาร์เทอมีสยิงธนูทะลุเกาะกลางทะเลที่อพอลโล่ชี้ให้ดูให้ได้
อาร์เทอมีสตกหลุมพรางของเทพฝาแฝด เหนี่ยวสายธนูเต็มแรงจนลูกธนูทะลุศีรษะของโอไรออนถึงแก่ความตาย เมื่ออาร์เทอมีสทราบว่าตนได้ฆ่าชายที่รักลงด้วยน้ำมือของตนเองแล้ว พระนางก็ได้นำศพของโอไรออนและซิริอุสสุนัขคู่ใจขึ้นไปไว้บนท้องฟ้าในตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพราน และ ดาวสุนัขใหญ่
เทพีอาร์เทอมีสมีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผู้งดงาม อยู่ในชุดล่าสัตว์ทะมัดทแมงกระโปงสั้น ชุดมักมีสีน้ำเงิน ในมือถือคันธนู


เทพเจ้าอพอลโล (Apollo)

เทพเจ้าอพอลโล (Apollo)

อพอลโล  เป็นบุตรชายคนโตของมหาเทพซุส เป็นหนึ่งใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส  เป็นบุตรของซีอุส จอมเทพแห่งสวรรค์และนางเลโต เป็นเทพแห่งแสงอาทิตย์คู่กัน อพอลโล เป็นบุรุษหนุ่มรูปงาม มักเล่นดนตรีด้วยพิณ เชี่ยวชาญการใช้ธนู ในสงครามกรุงทรอย อพอลโลมีบทบาทเป็นเทพที่รักษาชายฝั่งเมืองทรอย ที่เมืองเดลฟี่มีเทวสถานบูชาอพอลโลอยู่ นอกจากนี้แล้ว อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ฟีบัส (Phoebus) อาเบล (Abel) ไพธูส (Pytheus) หรือ เฮลิออส (Helios) ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายถึง แสงสว่างทั้งสิ้น
ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซา ที่เรียกว่า โครงการอพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่างๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น
อพอลโลเป็นเทพที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียนที่เกาะโรดส์ที่มีชื่อว่า เทวรูปโคโลสซูส  นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณ ด้วยโดยทั่วไปรูปปั้นอพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์

ฮีเฟสตุส (Hephaestus)และเทพเจ้าแอรีส (Ares)

ฮีเฟสตุส (Hephaestus)

ฮีเฟสตุส (Hephaestus) หรือวัลแคน เทพแห่งการช่าง เทพองค์นี้ ส่วนมากว่า เป็นโอรสที่ฮีรา ให้กำเนิดฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวกับซุส หรือชายใด
บางตำนานกล่าวว่าฮีราอิจฉาที่ซูสสามารถให้กำเนิดบุตรด้วยตนเองได้นั่นคืออะธีน่า นางจึงสร้างฮีเฟสตุสขึ้นมาด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากซูส แต่เมื่อฮีเฟสตุสถือกำเนิดขึ้นนางก็โยนบุตรชายลงจากเขาโอลิมปัสเนื่องจากรังเกียจรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดของฮีเฟสตุส ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ฮีเฟสตุสกลายเป็นเทพที่มีขาพิการ ภายหลังฮีเฟสตุสได้ทำการแก้แค้นพระมารดาด้วยการสร้างบัลลังก์ทองที่แสนสวยงามให้ฮีรา แต่เมื่อนางนั่งลงบนบัลลังก์ทองนั้นแล้วกลับลุกขึ้นมาไม่ได้อีกเลย
เทพโอลิมปัสร่วมกันอ้อนวอนให้ฮีเฟสตุสกลับขึ้นมาอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัสและให้อภัยพระมารดา แต่ฮีเฟสตุสไม่ยอม ในที่สุดเหล่าเทพจึงส่งเทพไดโอไนซัสผู้เป็นเทพแห่งเหล้าองุ่นให้มอมเหล้าฮีเฟสตุสและนำเขาขึ้นมายังเทือกเขาโอลิมปัส ทำให้คำสาปเรื่องบัลลังก์ทองเสื่อมไป เทพีฮีราจึงได้ลุกขึ้นจากบัลลังก์อีกครั้ง

เทพเจ้าแอรีส (Ares)

แอรีส  หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย

แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่าจึงได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า
แอรีสเป็นบุตรของซุส มหาเทพและพระนางเฮรา แอรีสเป็นเทพที่ชาวกรีกไม่นับถือบูชา เพราะถือว่าเป็นเทพที่โหดร้ายและมีเรื่องราวที่น่าอับอายเกี่ยวกับพระองค์เยอะ และถึงแม้จะเป็นเทพแห่งสงคราม แอรีสก็รบแพ้ในการสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งแก่มนุษย์กึ่งเทพเองอย่าง เฮราคลีสและกับอธีน่า เทพีแห่งสงคราม พี่น้องของพระองค์เอง แต่แอรีสเป็นที่นับถืออย่างมากของชาวโรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่โปรดปรานการสู้รบ ถึงกับแต่งให้แอรีสเป็นบิดาของรอมิวลุส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรมเลยทีเดียว ในทางด้านชู้สาว พระองค์ลักลอบมีชู้กับเทพี อโฟรไดท์จนเป็นเรื่องราวใหญ่โตให้อับอายไปทั้งสวรรค์ และเป็นอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ ที่จับผิดและแก้ไขพฤติกรรมของทั้งคู่
เมื่อเสด็จไปที่ใด แอรีสจะใช้รถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ ดีมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟมอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บางตำนานก็กล่าวว่า ทั้งดีมอสและโฟบอสเป็นบุตรชายฝาแฝดของแอรีส และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำว่าความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) และในทางดาราศาสตร์ แอรีสหรือมาร์ส คือ ดาวอังคาร ดีมอส  และโฟบอส ก็ถูกตั้งเป็นชื่อของดวงจันทร์บริวารของดางอังคารด้วย